สรุปไฮไลต์จากการเสวนาหัวข้อ Unleash the Business of Sustainability จากโจทย์เรื่องความยั่งยืนในภาคธุรกิจซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญในการปลดล๊อคให้ธุรกิจเติบโตและแข่งขัน ได้ต่อไปในอนาคตได้อย่างไร รวมไปถึงข้อจำกัดของการเติบโตในโลกปัจจุบัน โอกาสและความท้าทายที่ธุรกิจไทยจะต้องเผชิญ บทบาทและภารกิจที่จะส่งเสริมความยั่งยืน โดย
คุณจอมขวัญ คงสกุล กล่าวว่า การพัฒนาให้เกิด Ecosystem ด้าน Sustainability นั้นไม่สามารถทำคนเดียวได้แต่ต้องเริ่มจากความร่วมมือ กลต. มีการสร้างระบบนิเวศเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและกำหนดหน้าที่ของแต่ละภาคส่วน โดยมีการพยายามส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับ Key Driver ได้แก่
ดร. ภากร ปีตธวัชชัย มองว่าการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนนั้นไม่ใช่ Nice To Have แต่เป็น Must Have จึงต้องมี 4 เรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงได้แก่
บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม โดยคุณมนตรี กล่าวว่า ภาคพลังงานนั้นเป็นเรื่องของคุณภาพชีวิตแต่การผลิตพลังงานจะไม่สามารถดำเนินการไปแบบเดิมได้ การคำนึงถึง ESG อย่างเดียวยังไม่เพียงพอ จึงต้องมองไปอีกขั้น เพื่อทำให้การผลิตพลังงานสะอาดขึ้น และใช้เป็นโอกาสทางธุรกิจให้ได้ด้วย โดยมี 2 แนวทาง
คุณวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอสซีจี แพคเกจจิ้ง กล่าวถึง 3 Approach to ESG Mindset ดังนี้
นอกจากนี้ข้อจำกัดที่จะทำให้บริษัทไม่สามารถเข้าถึงปัญหาด้าน ESG แบ่งได้เป็น 3 ด้าน
คุณกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า Climate change เป็นปัญหาระยะยาวและต้องการเงินลงทุนจำนวนมาก ต้องส่งเสริมให้ประเทศไทยมีนวัตกรรมใหม่ๆที่เป็นรูปธรรมให้มากขึ้น โดยไม่ต้องรอนวัตกรรมจากต่างประเทศ และอยากให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน และช่วยสนับสนุน SME/supply chain ของบริษัทขนาดใหญ่ให้สามารถปรับตัวได้ทันและเข้าใจว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นภาระหรือสิ่งที่รอได้เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อกันเป็นลูกโซ่
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มองว่าในอนาคต supply chain ของบริษัทใหญ่ ๆ จะได้รับผลกระทบมากขึ้นเรื่อย ๆ และสามารถแก้ไขปัญหาได้ 2 วิธี คือ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เห็นด้วยกับการช่วยผลักดันบริษัทรายย่อยและ SME ไปพร้อมกัน และกลต. เห็นว่าสิ่งที่เหมาะสมคือการทำ Transition Finance ที่เข้ากับบริบทของธุรกิจในประเทศไทย และสนับสนุนธุรกิจแบบ Old Economy ให้ก้าวเข้าสู่ ESG ได้ เช่น การไม่กำหนด Fee ในการออก Green Bond หรือ Sustainability Bond ต่าง ๆ และการปรับเกณฑ์ Taxonomy
การให้ความช่วยเหลือกับ SME/Supply Chain
บมจ. เอสซีจี แพคเกจจิ้ง เน้นวัสดุในการทำ packaging ที่เป็นวัสดุ Recycle & Biobase และได้มีการจัดทำ “Dezpax” แอพพลิเคชั่นด้านบรรจุภณฑ์สำหรับอาหาร เพื่อให้ SME สามารถสั่งออเดอร์บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในปริมาณน้อยได้ นอกจากนี้ในกระบวนการผลิต Packaging ต่าง ๆ ได้มีการ พัฒนา Close Loop Environment อย่างต่อเนื่อง มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้ SME มีต้นทุนที่น้อยลงและรักษ์โลกไปพร้อม ๆ กัน
คุณมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล เห็นว่าทุกคนจะต้องมีความเชื่อเดียวกันว่าประเทศไทยจะสามารถเป็นสังคมคาร์บอนต่ำได้ และทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน พร้อมทั้งเสนอแนะว่า ประเทศไทยควรมีการนำกลไกของคาร์บอนเครดิตมาใช้ เพื่อกระตุ้นให้บริษัทใหญ่กล้าลงทุนมากขึ้น
คุณกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กล่าวว่า ในส่วนของ Scope 1 และ Scope 2 ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากังวลใจ และคิดว่าด้วยการบริหารจัดการที่ดีภายในธนาคารจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ภายในปี 2030 แต่สิ่งที่ท้าทายมากกว่า คือการจัดการกับ Scope 3 เนื่องจาก Portfolio ในการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าของธนาคารมีจำนวน 2,000,000 ล้านบาท แต่ละภาคธุรกิจมีผลกระทบต่อการปล่อยคาร์บอนไม่เท่ากัน ธนาคารจึงวางแผนในการจัดลำดับ Decarbonization Portfolio เป็น 4 ระดับตามประเภทอุตสาหกรรม ดังนี้
แต่ธนาคารไม่สามารถดำเนินการเรื่องนี้ได้เองโดยลำพัง ต้องอาศัยความร่วมมือจากลูกค้า และต้องมีแรงจูงใจและข้อกำหนดจากภาครัฐด้วยจึงจะเกิดขึ้นได้
นอกจากนี้ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็วทุกภาคส่วนควรจะต้องดำเนินไปอย่างมีสมดุล ไม่ว่าจะเป็น ความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ การขาดแคลนของวัตถุดิบ การป้องกันการเกิด Green Washing การบริหารจัดการต้นทุนที่ไม่มองเป็นภาระแต่มองเป็นโอกาส การเข้าถึงเทคโนโลยี การเชื่อมโยงลูกค้าในทุกระดับ และขณะเดียวกันต้องสามารถสร้างผลกำไรให้กับผู้ถือหุ้นได้ ความท้าทายอย่างต่อเนื่องจึงคือการรักษาสมดุลเหล่านี้ไปพร้อมกับการวิ่งไปข้างหน้าให้ทัน
แม้การดำเนินกิจการที่คำนึงถึง ESG นั้นจะเพิ่มต้นทุนก็ตาม ไม่อยากให้ผู้บริหารกิจการและนักลงทุนมองว่าจะได้รับอะไรจากการทำสิ่งนี้ และไม่ได้เป็นแค่เรื่องผลกระทบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม แต่ให้คิดว่าหากไม่มีการจัดการในเรื่องนี้แล้วจะก่อให้เกิดต้นทุนและผลกระทบอะไรอีกบ้างในอนาคต ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติที่เกิดจากภาวะโลกร้อน เป็นอันดับที่ 9 ของโลก หากเราไม่แยแสกับเรื่องนี้สุดท้ายแล้วก็จะต้องได้รับผลกระทบต่อกิจการและการลงทุนอย่างแน่นอน - คุณจอมขวัญ คงสกุล -
ผลกระทบที่เราได้รับวันนี้เป็นผลพวงของอุตสาหกรรมที่เกิดมานากว่า100 ปี แต่ถ้าเราไม่ร่วมกันแก้และวางรากฐานตั้งแต่วันนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อไปจากนี้คือลูกหลานของเรา - คุณมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล -
Circular Economy Business Model
- คุณวิชาญ จิตร์ภักดี -
การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง มีความสำคัญกับการทำธุรกิจของบริษัท เป็น Value Added และธุรกิจใหม่ของบริษัท ยิ่งไปกว่าการทำสิ่งนี้ร่วมกันกับ Supply chain และผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจะยิ่งทำให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปได้ - ดร. ภากร ปีตธวัชชัย -
ESG ไม่ใช่เรื่อง CSR แต่คือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ต้องวิ่งเข้าหา รอไม่ได้และเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงควรแปลงแผนการทำงานออกมาเป็นตัวเลขและ Action Plan ที่สามารถวัดผลได้ชัดเจน อย่าลืมร่วมมือกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจ และธนาคารกสิกรไทยพร้อมจะสนับสนุนทุกธุรกิจ - คุณกฤษณ์ จิตต์แจ้ง -