K-Expert Standard Portfolio
เราสามารถทราบได้ว่า ตนเองรับความเสี่ยงได้ระดับไหน โดยการทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความเสี่ยง ซึ่งปกติแล้วจะมีความเสี่ยงอยู่ 5 ระดับ หากทำแบบประเมินแล้วได้ความเสี่ยงระดับ 1 จะหมายถึงว่า เราเหมาะกับพอร์ตความเสี่ยงระดับต่ำ ความเสี่ยงระดับ 2 และ 3 หมายถึง เหมาะกับพอร์ตความเสี่ยงระดับปานกลาง และความเสี่ยงระดับ 4 และ 5 หมายถึง เหมาะกับพอร์ตความเสี่ยงระดับสูง
ระดับ
ความเสี่ยง | หุ้น
ไทย | หุ้น
ต่างประเทศ | ตราสารหนี้
ไทย | ตราสารหนี้
ต่างประเทศ | ผลการดำเนินงาน
ที่ผ่านมา (%ต่อปี) | ความผันผวน
ที่ผ่านมา |
สูง | 40% | 15% | 30% | 15% | 10.92% | 7.43% |
กลาง | 20% | 10% | 50% | 20% | 7.30% | 3.75% |
ต่ำ | 0% | 0% | 80% | 20% | 3.85% | 1.36% |
นักลงทุนบางท่านอาจเกิดคำถามขึ้นในใจว่า ทำไมจะต้องจัดพอร์ตในเมื่อลงทุนในหุ้นเพียงอย่างเดียวจะทำให้ได้ผลตอบแทนที่มากกว่า เพื่อตอบคำถามนี้ ขอเปรียบเทียบการลงทุนในหุ้นไทยเพียงอย่างเดียวกับพอร์ตการลงทุนที่ความเสี่ยงระดับสูง โดยนำข้อมูลในช่วงวันที่ 4 มกราคม 2553 ถึง 31 สิงหาคม 2558 มาแสดง สำหรับการลงทุนในหุ้นไทยเพียงอย่างเดียวได้รับผลตอบแทนเฉลี่ย 14.88% ต่อปี และมีความผันผวน 17.34% ถ้าเรานำตัวเลขดังกล่าวคำนวณอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงจะได้ 0.86 ขณะที่การจัดพอร์ตความเสี่ยงสูงในช่วงเวลาเดียวกัน แม้ว่าจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 10.92% ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นไทย แต่ก็มีความผันผวนที่น้อยกว่าอยู่ที่ 7.43% ซึ่งหากเรานำตัวเลขดังกล่าวมาคำนวณอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงจะได้ค่า 1.47 แสดงให้เห็นว่า การลงทุนแบบจัดพอร์ตความเสี่ยงสูงสามารถสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าการลงทุนหุ้นไทยเพียงอย่างเดียว เมื่อเทียบจากความเสี่ยงที่เราจะต้องเผชิญ
เมื่อเราลงทุนตามพอร์ตการลงทุนที่เหมาะกับตัวเราแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การติดตามผลงานของพอร์ตว่า เป็นไปตามที่วางแผนไว้หรือไม่ โดยกำหนดกรอบการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เพื่อให้เราสามารถปรับสัดส่วนเงินลงทุนให้เป็นไปตามแผน เช่น ถ้าเลือกลงทุนในพอร์ตความเสี่ยงระดับสูง ซึ่งมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไทย 40% โดยกำหนดกรอบของหุ้นไทยไว้ที่ 30-50% หากตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงอย่างรุนแรงจนทำให้สัดส่วนการลงทุนในหุ้นไทยลดลงไปที่ 29% ซึ่งต่ำกว่ากรอบที่วางเอาไว้ ก็ต้องปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นให้ได้ 40% ตามสัดส่วนที่ตั้งเอาไว้ การทำเช่นนี้จะช่วยให้เรามีวินัยในการลงทุน ไม่กลัวที่จะซื้อหุ้นเมื่อหุ้นตก ทำให้สามารถซื้อหุ้นในราคาที่ถูก หากเราไม่ได้มีการจัดพอร์ตการลงทุนเอาไว้ เราอาจไม่กล้าที่จะซื้อหุ้นเมื่อหุ้นตกลงมาแรงๆ ได้ สำหรับการติดตามพอร์ตการลงทุนว่า มีสัดส่วนตามที่วางแผนไว้หรือไม่นั้น หากเป็นคนที่ไม่มีเวลาติดตามการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นหรือกองทุนเป็นประจำ ก็สามารถกำหนดช่วงเวลาที่จะติดตามผล เช่น ทุก 6 เดือน ก็ได้ นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องระวังในการปรับพอร์ตการลงทุนบ่อยๆ คือ ค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย เพราะในการซื้อขายหุ้นหรือกองทุนมักมีการคิดค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย หากซื้อขายหรือปรับพอร์ตบ่อยจนเกินไป จะทำให้ผลตอบแทนที่จะได้รับลดน้อยลงไปได้
หากอยากทราบว่า พอร์ตการลงทุนของตนเองเป็นอย่างไร มีรูปแบบที่เหมาะกับระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้หรือไม่ ขอแนะนำผู้ช่วยจัดการทรัพย์สินออนไลน์ (K-Expert My Port) ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการรวบรวมสินทรัพย์ต่างๆ ของเรา ทำให้ทราบว่า มีการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ สามารถติดตามบทความที่เกี่ยวข้องกับ “เพิ่มความมั่งคั่ง ด้วยการจัดพอร์ต” ได้ที่ www.askKBank.com/K-Expert หากมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาวางแผนเพิ่มเติม สามารถปรึกษากับที่ปรึกษาลูกค้าบุคคล ธนาคารกสิกรไทย ได้ที่ K-Expert@kasikornbank.com และติดตามข่าวสารการเงินได้ที่ Twitter@KBank_Expert
K-Expert Action - เลือกซื้อบ้านโดยคำนึงถึงทำเลที่ตั้ง ราคา ขนาดครอบครัว Lifestyle การใช้ชีวิต ความสะดวกปลอดภัย และรูปแบบบ้าน
- อย่าลืมเตรียมเงินไว้สำหรับเป็นเงินดาวน์ 20% ของราคาบ้าน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะตามมาหลังการซื้อบ้าน
|