โรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง? ทำความรู้จักโรคประจำตัวยอดฮิต เพื่อการวางแผนชีวิต โรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง? ทำความรู้จักโรคประจำตัวยอดฮิต เพื่อการวางแผนชีวิต

ทำความรู้จัก 5 โรคร้ายแรงยอดฮิตในไทย

โรคร้ายแรง ฟังแล้วอาจดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคนทั่วไป หลายคนมักเข้าใจว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่รู้ไหมว่าไม่ว่าคุณจะเป็นวัยรุ่น วัยทำงาน วัยกลางคน หรือวัยสูงอายุก็มีโอกาสเป็นโรคร้ายแรงได้ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ง่าย วันนี้เราจึงจะพาไปดูกันว่าโรคร้ายแรงมีอะไรบ้าง? อะไรคือตัวช่วยสำคัญที่จะเข้ามามีบทบาทเมื่อต้องเผชิญโรคร้ายแรง

โรคร้ายแรงคืออะไร?

โรคร้ายแรง คือ โรคที่ต้องใช้เทคโนโลยีหรือเทคนิคการแพทย์แบบเฉพาะทางในการรักษา เพราะเป็นโรคที่รักษาหายได้ยากกว่าโรคทั่วไป ส่งผลให้ต้องรักษาตัวต่อเนื่องเป็นเวลานาน โรคร้ายแรงจึงไม่เพียงสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายและจิตใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อการเงินของผู้ป่วยอีกด้วย

โรคร้ายแรงมีอะไรบ้าง?

หลายคนอาจจะสงสัยกว่าโรคร้ายแรงมีอะไรบ้าง? สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ให้คำนิยามโรคร้ายแรงไว้ทั้งหมด 50 โรคด้วยกัน โดยในบทความนี้จะขอพูดถึง 5 โรคร้ายแรงสุดฮิตที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยมากที่สุด ดังนี้

1. โรคมะเร็ง (Cancer)

โรคร้ายแรง โรคประจำตัว มีอะไรบ้าง? 1. โรคมะเร็ง (Cancer)

โรคมะเร็ง (Cancer) โรคร้ายแรงอันดับหนึ่งในประเทศไทยที่มีแนวโน้มอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นเรื่อย ๆ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก มีสาเหตุมาจากทั้งปัจจัยภายนอก เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง หรือปัจจัยภายใน เช่น การผิดปกติทางพันธุกรรม ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น สำหรับการรักษาโรคมะเร็งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ชนิดของเซลล์มะเร็ง ทั้งการใช้เคมีบำบัด การผ่าตัด การใช้รังสีกำลังสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ใช้ทุนทรัพย์ค่อนข้างสูงในการรักษาและพักฟื้น

2. โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease : CAD)

โรคร้ายแรง โรคประจำตัว มีอะไรบ้าง? 2. โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease : CAD)

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease : CAD) เกิดจากไขมันอุดตันตามเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจจนหลอดเลือดหัวใจตีบและตัน เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ส่งผลให้หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ใครที่ชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ไม่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรือมีโรคประจำตัวอย่างโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจสูง ซึ่งความน่ากลัวของโรคนี้ คือ เป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการหรือความผิดปกติใด ๆ กว่าจะรู้ตัวก็อาจเข้าสู่ภาวะรุนแรงแล้ว ดังนั้นรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนอะไรจะสายเกินไป

3. โรคหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)

โรคร้ายแรง โรคประจำตัว มีอะไรบ้าง? 3. โรคหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)

โรคหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure) เป็นโรคร้ายแรงที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งไม่สามารถรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว คือ มีอาการหอบเหนื่อย หายใจไม่สะดวก ขาบวม แน่นหน้าอก เป็นต้น กรณีผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันอาจอันตรายถึงชีวิตได้

4. โรคหลอดเลือดสมอง (Major Stroke)

โรคร้ายแรง โรคประจำตัว มีอะไรบ้าง? 4. โรคหลอดเลือดสมอง (Major Stroke)

โรคหลอดเลือดสมอง (Major Stroke) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ หลอดเลือดสมองแตก และหลอดเลือดสมองตีบ ตัน เกิดจากภาวะที่เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ ทำให้เซลล์สมองขาดเลือดและออกซิเจน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเซลล์สมองจะค่อย ๆ ตายลงในที่สุด โดยลักษณะอาการที่สังเกตได้ คือ มีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า ปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิท แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างเฉียบพลัน ปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น หากหลอดเลือดสมองตีบ ตันซ้ำ มีโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมตามมาภายหลังได้ เรียกได้ว่าเป็นโรคร้ายแรงที่น่ากลัวกว่าที่คิด

5. โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Failure)

โรคร้ายแรง โรคประจำตัว มีอะไรบ้าง? 5. โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Failure)

โรคร้ายแรงสุดท้าย คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Failure) เป็นภาวะที่ไตถูกทำลายจนสูญเสียการทำงานทีละน้อย หรือไตมีความผิดปกติเกินกว่า 3 เดือน หากปล่อยไว้จนมีอาการแย่ลงจะนำไปสู่ภาวะไตวายในที่สุด ซึ่งหลายคนไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคไตอยู่จนกว่าจะมีอาการรุนแรง เพราะในระยะแรกจะไม่แสดงอาการใด ๆ จนกระทั่งไตถูกทำลายไปมากกว่า 50% จะเริ่มแสดงอาการ เช่น อ่อนแรง เท้าและข้อเท้าบวม เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ เป็นต้น โดยไตจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป การรักษาจึงทำได้เพียงมุ่งเน้นไปที่การชะลอความเสียหายของไต

โรคร้ายแรงสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยที่เราไม่รู้เลยว่าตัวเองจะเป็นคน ๆ นั้นเมื่อใด และเมื่อขึ้นชื่อว่าโรคร้ายแรง ย่อมต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่าจะหายขาด สิ่งที่น่ากังวลนอกจากอาการของโรค จึงหนีไม่พ้นค่ารักษาพยาบาลที่สูงลิ่ว การทำประกันโรคร้ายแรงตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นสิ่งที่ไม่อยากให้หลายคนมองข้าม เพราะประกันจะเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินด้วยการให้ความคุ้มครองครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ดังนั้นมีประกันโรคร้ายแรงติดตัวไว้สัก 1 แผนจะเพิ่มความอุ่นใจในการใช้ชีวิตมากขึ้นกว่าที่เคย

ประกันแบบไหนที่ใช่ที่สุดสำหรับคุณ

เริ่มค้นหา

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

back to top