โรคออฟฟิศซินโดรมคืออะไร? อาการออฟฟิศซินโดรม มีอะไรบ้าง สังเกตอาการก่อนอาการหนัก โรคออฟฟิศซินโดรมคืออะไร? อาการออฟฟิศซินโดรม มีอะไรบ้าง สังเกตอาการก่อนอาการหนัก

อาการแบบไหนเข้าข่ายออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตของมนุษย์ออฟฟิศที่นั่งติดเก้าอี้วันละหลายชั่วโมง นอกจากจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้อาจลุกลามเป็นโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่รุนแรงได้ ในบทความนี้เราจึงจะพาไปทำความรู้จักว่าโรคออฟฟิศซินโดรมคืออะไร มีอาการอย่างไร เพื่อรู้เท่าทันและรักษาได้ทันท่วงที

โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออะไร

โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด โดยเฉพาะบริเวณคอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำไปซ้ำมาเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง ส่งผลให้กล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ พบบ่อยในกลุ่มคนที่ทำงานออฟฟิศ ซึ่งต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์อยู่ท่าเดิมเป็นเวลานาน ไม่ได้ขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ หรือคนที่จัดระเบียบร่างกายไม่ถูกต้องและเหมาะสม นั่งทำงานผิดท่าต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

ออฟฟิศซินโดรมอาการมีอะไรบ้าง?

อาการออฟฟิศซินโดรมที่พบบ่อยมีดังนี้

ปวดคอ บ่า ไหล่

โรคออฟฟิศซินโดรม อาการปวดคอ บ่า ไหล่

อาการออฟฟิศซินโดรมมักเริ่มต้นที่ปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ ก่อนจะลามทั่วทั้งร่างกายเป็นวงกว้าง เกิดจากการนั่งทำงานหน้าคอมเป็นเวลานาน โต๊ะหรือเก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป ทำให้ต้องนั่งทำงานในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาการปวดคอ บ่า ไหล่มักจะเป็นเรื้อรัง ไม่หายขาด

ปวดหลัง

โรคออฟฟิศซินโดรม อาการปวดหลัง

ปวดหลัง อีกหนึ่งอาการออฟฟิศซินโดรมที่มักพบบ่อย มีสาเหตุมาจากการนั่งทำงานอยู่ในท่าทางเดิม ๆ ติดต่อกันนานหลายชั่วโมง การนั่งไม่ถูกสรีระ นั่งหลังค่อม หรือนั่งก้มคออยู่ตลอดเวลา เพราะเก้าอี้สูงเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อต้นคอเมื่อยล้าและยึดเกร็งอยู่ตลอดเวลา หากไม่ได้รับการรักษาอาการปวดหลังก็จะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

ปวดข้อมือ มือชา นิ้วล็อก

โรคออฟฟิศซินโดรม อาการปวดข้อมือ มือชา นิ้วล็อก

อาการปวดข้อมือ มือชา นิ้วล็อก เกิดจากการใช้มือทำงานบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ และข้อมืออยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง เช่น จับเมาส์ท่าเดิมเป็นเวลานาน หรือจัดตำแหน่งคีย์บอร์ดและเมาส์ไม่เหมาะสม ทำให้ต้องงอข้อมือตลอดเวลา ส่งผลให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณมือหรือนิ้วมืออักเสบ จัดเป็นอาการออฟฟิศซินโดรมที่ไม่ได้เกิดกับแค่กลุ่มคนในออฟฟิศเท่านั้น คนทำอาหาร ผู้ใช้แรงงาน นักกีฬาก็มีอาการนี้ได้เช่นกัน

เหน็บชา

โรคออฟฟิศซินโดรม อาการเหน็บชา

การนั่งทำงานท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและการไหลเวียนเลือดผิดปกติ จึงเกิดอาการปวดตึงที่ขา ขาอ่อนแรง และเหน็บชาบริเวณขาลงมา

สายตาล้า

โรคออฟฟิศซินโดรม อาการสายตาล้า

สายตาล้า ก็เป็นหนึ่งในอาการออฟฟิศซินโดรมที่เป็นผลมาจากการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป ทำให้สายตาอ่อนล้า ตาแห้ง ปวดบริเวณรอบ ๆ ดวงตา แม้จะเป็นอาการที่ไม่รุนแรงระดับชีวิต แต่ก็รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก

วิงเวียนศีรษะ

โรคออฟฟิศซินโดรม อาการวิงเวียนศีรษะ

อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นผลต่อเนื่องมาจากปัญหากล้ามเนื้อบริเวณบ่าที่ตึง เนื่องจากเส้นประสาทถูกกดทับ ทำเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนของศีรษะได้ ส่งผลให้มีอาการมึนงงและวิงเวียนศีรษะ นอกจากนี้ความเครียด ความวิตกกังวล เป็นเป็นสาเหตุที่ทำให้วิงเวียนศีรษะเช่นกัน

การดูแลรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม

ปัจจุบันการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น

  • การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น เลือกใช้โต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะกับสรีระ รวมทั้งปรับระดับโต๊ะและเก้าอี้ทำงานให้พอดี จัดวางตำแหน่งแป้นพิมพ์และเมาส์ให้เหมาะสม จัดแสงสว่างให้พอเหมาะ
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ไม่นั่งท่าเดิมนาน ๆ หมั่นปรับเปลี่ยนอิริยาบถเป็นระยะเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ไม่เพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ
  • การออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน โยคะ นอกจากจะช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ ป้องกันการอักเสบของกล้ามเนื้อแล้ว ยังทำให้การหมุนเวียนเลือดมีประสิทธิภาพ
  • การทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การกระตุ้นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า การทำกายบริหาร
  • การฝังเข็ม การนวดแผนไทย
  • การใช้ยาช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ กรณีที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อรุนแรง โดยต้องใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

สำหรับใครที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็แล้ว ออกกำลังกายก็แล้ว แต่อาการออฟฟิศซินโดรมยังไม่ดีขึ้น และมีแนวโน้มจะปวดรุนแรงกว่าเดิม แนะนำให้รีบพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด และเลือกวิธีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมได้อย่างเหมาะสมกับอาการมากที่สุด

จบลงไปแล้วกับอาการออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตของคนทำงาน อ่านมาถึงตรงนี้ใครรู้สึกว่าตนเองเริ่มเข้าข่ายโรคออฟฟิศซินโดรมแล้วล่ะก็ นอกจากจะลองทำตามวิธีดูแลรักษาที่เราแนะนำแล้ว แนะนำให้มองหาตัวช่วยเพิ่มความอุ่นใจอย่างประกันสุขภาพ ให้ความคุ้มครองโรคที่มีสาเหตุมาจากออฟฟิศซินโดรม พบแพทย์กี่ครั้งก็อุ่นใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย

ประกันแบบไหนที่ใช่ที่สุดสำหรับคุณ

เริ่มค้นหา

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

back to top